Saturday, October 12, 2013

มาวางแผนเกษียณกันเถอะ ตอนที่ 3

หลังจากตรวจสอบตัวเองก่อนที่จะวางแผนเกษียณแล้วว่าเรามีความต้องการอะไรบ้าง มีสวัสดิการอะไร ปัจจุบันมีเงินออมอะไรแล้วบ้าง อนาคตจะมีแหล่งเงินออมจากไหนออกมาบ้าง คราวนี้ก็มาเริ่มต้นการวางแผนเกษียณกันคะ วิธีนั้นอาจจะยากนิดหน่อย แต่ถ้าเราตั้งใจที่จะทำวางแผนและปฎิบัติตามที่เราวางไว้ ประกอบกับวางแผนแต่เนิ่นๆ อย่าให้อายุใกล้เลข 5 แล้วค่อยทำ ควรทำตั้งแต่วันนี้ตอนที่เรายังทำงานไหวอยู่

การเริ่มต้นการวางแผนเกษียณ เราเริ่มจากการหาค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังการเกษียณก่อน ตรวจสอบดูว่าเราจะมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดในอนาคตเท่าใด เมื่อรู้ว่าต้องใช้จ่ายเท่าใดก็ปรับให้เป็นปัจจุบันว่าถ้าต้องการจะมีเงินจำนวนเท่านี้ จะต้องเก็บเงินแต่ละปีเป็นจำนวนเท่าใด และเก็บเงินอย่างไร ถึงจะตอบโจทย์นี้ได้ แล้วถ้าเป้าหมายมันห่างจากเงินที่เก็บเงินได้จะทำอย่างไร จะปรับเปลี่ยนอย่างไร

 
การตั้งค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังการเกษียณ

1. อยากใช้เงินหลังเกษียณเดือนละเท่าใด

ลองตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า เมื่อเกษียณแล้วเราจะใช้เงินเดือนละเท่าไร ถ้ายังคิดไม่ออก ให้ลองดูที่ปัจจุบันว่าเรามีค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนเท่าไร แล้วค่าใช้จ่ายใดที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายใดที่หลังเกษียณแล้วยังคงมีอยู่ คิดคำนวณออกมาเป็นตัวเลขคร่าวๆ ก็ได้ เป็นการประมาณว่าหลังเกษียณแล้วเราจะใช้เงินจำนวนเท่านี้ บางคนอาจนำค่าใช้จ่ายในปีสุดท้ายก่อนเกษียณมาหักลบครึ่งหนึ่ง ที่เหลือจึงเป็นค่าใช้จ่ายประมาณการหลังเกษียณ

2. ตั้งค่าใช้จ่ายที่เป็นไม่จำเป็นหลังเกษียณ

ค่าใช้จ่ายอีกประเภทนึงที่อาจจะเกิดขึ้นคือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเช่น ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวหลังเกษียณ (บางคนอาจเถียงว่าการท่องเที่ยวหลังเกษียณเป็นสิ่งจำเป็น ก็แล้วแต่คะ สามารถนำไปใส่เพิ่มในข้อแรกได้เลย) ค่าใช้จ่ายสันทนาการงานเลี้ยง พบปะเพื่อนฝูง ค่าใช้จ่ายมื้อพิเศษกับลูกหลาน เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจะตัดทึ้งก็ได้หรือจะมีก็ได้ขึ้นกับเงินที่เตรียมไว้เพียงพอหรือไม่

3. ตั้งวงเงินค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ค่ารักษาพยาบาล

ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินนี้ จะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันเช่น ค่าซ่อมบ้านเนื่องจากน้ำท่วม ค่าซ่อมรถเปลี่ยนรถ ค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย เป็นต้น ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ไม่สามารถกำหนดได้อย่างแน่นอนว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด ในส่วนค่ารักษาพยาบาล บางคนรู้ตัวว่าเป็นโรคเยอะก็ควรมีการเก็บเงินไว้เพื่อรักษาตัวเอง หรือบางคนมีโรคประจำตัวต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ ก็ต้องตั้งวงเงินในการรักษาตัวเองไว้สูงเพื่อให้เพียงพอต่อการรักษาในอนาคต

4. เก็บเงินไว้เป็นมรดก เหลือไว้ให้ลูกหลาน

การเหลือเงินเป็นมรดกให้กับลูกหลานถือเป็นสิ่งดีที่พ่อแม่อยากมอบให้กับลูกๆ แต่การจะให้มรดกแก่ลูกหลานนั้น ต้องมีการเตรียมเงินหรือทรัพย์สินเอาไว้ก่อน ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องมีการเก็บเงินไว้ส่วนนึงเพื่อเป็นเงินมรดกให้กับลูกหลานต่อไป

ในตอนหน้าเราจะมาดูว่าเมื่อมีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้แล้ว จะเก็บเงินอย่างไรถึงจะถึงเป้าหมายนี้

No comments:

Post a Comment