Monday, September 30, 2013

ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้ครึ่งปี ตอนที่ 5

มาถึงตอนสุดท้ายแล้วสำหรับภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้ครึ่งปี ในตอนสุดท้ายนี้จะกล่าวถึงการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 94 ว่าคำนวณอย่างไร

หลายๆ คนยังสงสัยอยู่ว่าอัตราภาษีแบบใหม่ (0-35%) ได้นำมาใช้กับการคำนวณภาษีเงินครึ่งปีแล้วรึยัง คำตอบก็คือยังค่ะ ณ ปัจจุบันตอนนี้ยังคงใช้อัตราภาษีแบบเก่า (0-37%) อยู่เหมือนเดิม ทั้งในส่วนของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลและ หสม. ก็ยังเหมือนเดิม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ดังนั้นการคำนวณภาษีครึ่งปีนี้ก็ยังคงใช้รูปแบบเหมือนเดิมกับ ภ.ง.ด. 90 นะคะ

วิธีคำนวณภาษีแบบที่ 1 แบบก้าวหน้าหรือขั้นบันได

เมื่อเงินได้พึงประเมินของเราได้หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนและเงินบริจาคไปแล้ว เงินได้ตรงนี้ก็จะถูกเรียกว่าเงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิเป็นเงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี

การคำนวณภาษีแบบที่ 1 นี้ จะแบ่งเงินได้เป็นขั้นๆ ซึ่งแต่ละขั้นนั้นจะนำมาคิดคำนาณภาษีไม่เท่ากัน โดยขั้นภาษีจะถูกแบ่ง 5 ขั้น คือ ยกเว้น, 10, 20, 30 และ 37



ตัวอย่างการคำนวนภาษี โดยสมมุติให้มีเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้วเท่ากับ 1,200,000 บาท



จะเห็นได้ว่าเมื่อเงินได้สุทธิเยอะ ก็ต้องเสียภาษีที่ค่อนข้างเยอะตามไปด้วย ภาษีจึงเพิ่มเป็นขั้นบันไดตามเงินได้

วิธีคำนวณแบบที่ 2 แบบ 0.005

วิธีนี้จะไม่นำเงินได้สุทธิมาคำนวณ จะดูที่เงินได้พึงประเมินเป็นหลัก (เงินได้พึงประเมินคือเงินที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน และหักเงินบริจาค) หากมีเงินได้พึงประเมินมากกว่า 60,000 บาทขึ้นไป ให้นำเงินได้พึงประเมินนี้คูณด้วย 0.005 ถ้าผลลัพธ์ออกมาแล้วไม่เกิน 5,000 บาท ก็ให้ใช้แบบที่ 1 แต่ถ้าผลลัพธ์ที่ได้เกิน 5,000 บาทและยังมีค่ามากกว่าแบบที่ 1 ก็ให้ใช้ผลลัพธ์อันนี้



จะเห็นได้ว่าการคำนวณภาษีนั้น คนที่มีเงินได้มากๆ ถ้ามีการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้วนำมาคำนวณภาษีแบบที่ 1 อาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่เมื่อนำมาคำนวณแบบที่ 2 อาจจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งนั่นก็หมายความว่าคนๆ นี้ก็จะต้องเสียภาษีตามแบบที่ 2 แม้ว่าคำนวณแบบที่ 1 แล้วไม่เสียภาษีเลยก็ตาม

ภาษีเงินได้ครึ่งปีภ.ง.ด. 94 เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่มีเงินได้ 40(5) - 40(8) ที่จะต้องยื่นเพื่อชำระภาษีในเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ชำระภาษีภายในช่วงเวลาที่กำหนดนี้ จะต้องเสียเงินเพื่ออีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระและต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ดังนั้นทางที่ดีก็อย่าลืมไปยื่นกันนะคะ มีเวลาถึงวันที่ 8 ตุลาคมนี้

No comments:

Post a Comment